วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โปรแกรมเบราว์เซอร์

Borwser





Internet Explorer อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

วินโดวส์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (อังกฤษ: Windows Internet Explorer) (ก่อนนี้เรียกว่า ไมโครซอฟท์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) โดยมีชื่อย่อว่า ไออี (IE) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์
       ไออีเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีนิยมคนนิยมใช้มากเป็นตัวหนึ่ง โดยในปี 2545 มีสัดส่วนการใช้งานในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 95% และมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงประมาณ 46% ในปี พ.ศ. 2554 รุ่นล่าสุดคือรุ่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 9 ซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับ วินโดวส์ 7, วินโดวส์ วิสตา และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008[1][2][3][4]
        รุ่นของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์สำหรับระบบปฏิบัติการอื่นมีหลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์โมเบิลสำหรับโทรศัพท์มือถือและสมาร์ตโฟน พัฒนาต่อบนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7 ใช้งานในวินโดวส์โฟน 7 และ วินโดวส์ CE นอกจากนี้ยังมีหลายรุ่นที่หยุดการพัฒนาไปเช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์สำหรับแม็ค อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์สำหรับยูนิกซ์ ที่ใช้ในโซลาริส และ เอชพี-ยูเอกซ์
        ในปัจจุบันทางไมโครซอฟท์เปิดให้ทดลองใช้ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 10 ผ่านทางการดาวน์โหลดของเว็บไซต์ไมโครซอฟท์ สำหรับผู้ใช้งาน วินโดวส์ 7


                                                                                 หน้าตาเว็บ Internet Explorer 





  Mozilla Firefox มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

              มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (อังกฤษ: Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์และกูเกิลโครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก[7][8] ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61[9] และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28[10] (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)
                    ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว[11] โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) [12]
ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป
ไฟร์ประวัติ 

                 โครงการไฟร์ฟอกซ์ริเริ่มโดย เดฟ ไฮแอตต์ และ เบลก รอสส์ จากแนวความคิดการสร้างซอฟต์แวร์แยกย่อยมาจากโครงการมอซิลลา โดยตั้งใจพัฒนาโปรแกรมเดี่ยวที่ทำงานมุ่งเน้นสำหรับเป็นเว็บเบราว์เซอร์แยกออกมาจากโปรแกรมชุดมอซิลลา (Mozilla Suite) โดยในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2546 มูลนิธิมอซิลลาได้ประกาศแผนการพัฒนามุ่งเน้นไปที่ไฟร์ฟอกซ์และทันเดอร์เบิร์ดแทนที่โปรแกรมชุดมอซิลลา[14]
ชื่อโครงการได้มีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้งกว่าจะมาเป็นไฟร์ฟอกซ์ ซึ่งเริ่มต้นที่ชื่อ "ฟีนิกซ์" (Phoenix) ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนภายหลังจากมีปัญหาในด้านเครื่องหมายการค้ากับบริษัทฟีนิกซ์เทคโนโลยีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไบออส โดยเปลี่ยนมาเป็นชื่อ "ไฟร์เบิร์ด" (Firebird) และอีกครั้งได้มีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับระบบจัดการฐานข้อมูลไฟร์เบิร์ด และในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ทางมูลนิธิมอซิลลาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งมาเป็น "ไฟร์ฟอกซ์" (Firefox) โดยใช้ชื่อย่อว่า Fx หรือ fx[15] ไฟร์ฟอกซ์ 1.0 ได้เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดยระหว่างนั้นได้มีการปรับแก้ตลอดเวลารวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยให้กับตัวซอฟต์แวร์ โดยรุ่นถัดมาคือ ไฟร์ฟอกซ์ 1.5 ที่ออกมาเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และตามมาด้วย ไฟร์ฟอกซ์ 2 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งในปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์ 3 กำลังอยู่ในขั้นทดสอบ
                 ผู้นำโครงการปัจจุบันคือ เบน กูดเจอร์ (Ben Goodger - ปัจจุบันเป็นพนักงานของกูเกิล แต่ยังคงทำหน้าที่นี้อยู่) ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด และปริมาณการใช้ในแถบยุโรปสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฟินแลนด์
                  สัญลักษณ์
สัญลักษณ์ของไฟร์ฟอกซ์ออกแบบโดย จอน ฮิกส์ ถึงแม้ว่าตัวโปรแกรมจะเป็นซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์ส แต่สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของมูลนิธิมอซิลลา ดังนั้นผู้อื่นที่เผยแพร่ซอฟต์แวร์นี้จึงไม่สามารถใช้สัญลักษณ์นี้ได้ (เช่น ไฟร์ฟอกซ์ของโครงการเดเบียน เป็นต้น)ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษา


                                                                  หน้าตาเว็บ Mozilla Firefox



Safari ซาฟารี

(Safari) คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ สำหรับเครื่องแมคอินทอช โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Mac OS X รุ่น 10.3 เป็นต้นไป และสตีฟ จอบส์ ได้ประกาศในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เปิดตัวซาฟารีสำหรับวินโดวส์
หน้าตาของซาฟารีมีลักษณะสีเงินวาว (brush metal) เหมือนกับลักษณะของ ซอฟต์แวร์เล่นเพลง ไอทูนส์ ซาฟารีรุ่นที่สองเรียกว่า Safari RSS ใช้ได้กับ Mac OS X รุ่น 10.4 ขึ้นไป
ซาฟารี ใช้ตัววาดหน้าเว็บชื่อ WebCore ซึ่งพัฒนามาจากตัววาดหน้าเว็บชื่อ เว็บคิต ที่พัฒนาต่อมาจาก KHTML ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซอฟต์แวร์เสรี KDE
ความสามารถพิเศษของซาฟารี [แก้]

                  คุณสมบัติพื้นฐานของเว็บเบราว์เซอร์ ซาฟารี มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง
RSS Ready ซาฟารีสนับสนุนการเปิดดูข้อมูลที่เป็น XML โดยแสดงผลออกมาให้สามารถใช้งานได้ง่าย โดยยังสามารถปรับขนาดของคำอธิบายได้จากแถบ Article Length ได้ด้วย ป้องกันป๊อปอัพซาฟารี มีความสามารถกันป๊อปอัพกันการแสดงหน้าจดแบบไม่พึงประสงค์
                ความเป็นส่วนตัว
สามารถเปิดใช้งานความเป็นส่วนตัวได้โดยเลือกคำสั่ง Private Browsing โดยในระบบความเป็นส่วนตัวนี้ ซาฟารีจะไม่จดจำข้อมูลหลังจากที่เลือก Private Browsing ไว้ในประวัติการใช้งาน และเมื่อเลิกใช้เพียงแค่ปิดโปรแกรมแล้วเปิดใหม่ Private Browsing ก็จะปิดทำงานโดยอัตโนมัติ แท็บเบราว์ซิง
ซาฟารี รองรับการทำงานแท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) โดยผู้ใช้สามารถเปิดดูเว็บเพจหลายๆอันภายในหน้าต่างเดียวกันได้   เสิร์ชเอนจินในตัว  ซาฟารี มีเสิร์ชเอนจิน ที่เชื่อมโยงกับ Google
              การจัดการดาวน์โหลด
ระบบการจัดการดาวน์โหลด มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถทำการหยุดและดาวน์โหลดต่อจากการหยุดครั้งก่อนได้
การย้อนประวัติการใช้งานแบบเร็ว (SnapBack)
โดยปกติหากต้องการย้อนประวัติการเปิดดูเว็บเพจ ในบางครั้งอาจจะต้องคลิกปุ่ม Back ย้อนหลังหลายครั้ง ซาฟารีจึงมีคำสั่ง Mark Page to SnapBack เพื่อย้อนกลับมายังเว็บเพจ ที่เราระบุไว้ได้ โดย SnapBack ยังทำงานอัตโนมัติกับเว็บเพจที่เราพิมพ์ URL เข้าไปใหม่เสมอ  ตรวจดูประวัติการเข้าชมและบุ๊กมาร์ค โดยใช้ Clover Flow
ทำให้ตวจดูประวัติและบุ๊กมาร์คได้ง่ายขึ้น   เปลี่ยนไปใช้เอนจิน Nitro ทำให้โหลดจาวาสคริปต์เร็วกว่าเบราว์เซอร์อื่นๆ
มีเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาเว็บ ซาฟารีสามารถตรวจสอบการใช้ทรัพยากรของหน้าเว็บนั้นๆได้





                          Opera   โอเปร่า

โอเปร่า (Opera) คือชื่อซอฟต์แวร์ ที่รวมเว็บเบราว์เซอร์และโปรแกรมสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ พัฒนาโดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์ ในปัจจุบันโอเปร่าเป็นผู้นำในตลาดเว็บเบราว์เซอร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอ นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในระบบโทรทัศน์ที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ชม (interactive television, iTV) ในบางประเทศ เมื่อไม่นานนี้ บริษัทโอเปร่าได้ร่วมมือกับบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านการสร้างสรรค์สื่อ เพื่อรวมโอเปร่ากับโปรแกรมในชุด อะโดบีครีเอทีฟสวีท
และเมื่อ 20 กันยายน 2548 ทาง opera (Opera Software ASA) ได้เปิดให้ opera browser (เวอร์ชันสำหรับ desktop) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถโหลดใช้งานได้ฟรี และไม่มี Ad Banner ใด ๆ ในตัวโปรแกรม สามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบ

ชุดโอเปร่าประกอบไปด้วย
โปรแกรมค้นดูเว็บ (เว็บเบราว์เซอร์)
โปรแกรมอีเมล (E-mail client)
โปรแกรมไออาร์ซี (IRC client)
โปรแกรมสมุดที่อยู่ (Address book)
โปรแกรมอ่านข่าวจากแหล่งข้อมูลอื่น (News aggregator)
โปรแกรมโอเปร่าวิจิท (Opera Widget)
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้

โอเปร่าสามารถใช้ได้ในในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ดังนี้ (ตัวเลขในวงเล็บคือรุ่นล่าสุดของโอเปร่าที่ใช้ได้ โดยแต่ละภาษาอาจแตกต่างกัน)


                                                    หน้าตาเว็บ Opera








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น